Mes amies

นักเรียนแผนการเรียน อังกฤษ-ฝรั่งเศส ห้อง 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม

วันอังคาร, พฤษภาคม 20, 2551

ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เดิมคือโรงเรียนประณีตศิลปกรรมสังกัดกรมศิลปากร เปิดสอนวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมให้แก่ข้า-ราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ศาสตราจารย์
ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) ชาวอิตาเลียนซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศ ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน แห่งนี้ขึ้น และได้เจริญเติบโตเป็นลำดับเรื่อยมา จนกระทั่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทย (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยน ชื่อเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) และคณะโบราณคดี หลังจากนั้นได้จัดตั้งคณะมัณฑนศิลป์ ขึ้นในปีต่อมา


ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่ หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๑ คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๓ และคณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตามลำดับ หลังจากนั้น จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙ คณะเทคโนโลยี อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ และจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ เพื่อให้เป็น มหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น

พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายเขตการศึกษาไปจัดตั้ง วิทยาเขตแห่งใหม่ ที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อกระจายการศึกษาไปสู่ภูมิภาค ใช้ชื่อว่า "วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี" จัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะวิทยาการจัดการ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และวิทยาลัยนานาชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายงานในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยการจัดตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการ

เครื่องหมายทางราชการ พระพิฆเนศ

สีประจำมหาวิทยาลัย สีเขียวเวอร์ริเดียน

วันจันทร์, พฤษภาคม 19, 2551

เพลงชาติฝรั่งเศส

La Marseillaise

Allons enfants de la patrie,
Le jour de gloire est arrivé !
Contre nous de la tyrannie
L’étendard sanglant est levé ! (bis)
Entendez-vous dans les campagnes,
Mugir ces féroces soldats ?
Ils viennent jusque dans nos bras
Egorger nos fils, nos compagnes !

Refrain
Aux armes, citoyens !
Formez vos bataillons !
Marchons, marchons,
Qu’in sang impur
Abreuve nos sillons !

Amour sacré de la patrie,
Conduis, soutiens nos bras vengeurs !
Liberté, liberté chérie,
Combats avec les défenseurs ! (bis)
Sous nos drapeaux, que la victoire
Accoure à tes mâles accents !
Que les ennemis expirants
Voient ton triomphe et notre gloire !

Nous entrerons dans la carrière
Quand nos aînés j’y seront plus ;
Nous y trouverons leur poussière
Et la trace de leurs vertus. (bis)
Bien moins jaloux de leur survivre
Que de partager leur cerceuil,
Nous aurons le sublime orgueil
De les venger ou de les suivre !


ลา มาร์เซแยส (เพลงชาติฝรั่งเศส)

เร็วพวกเราลูกหลานผู้รักชาติ
วันประกาศศักดาได้มาถึง
อำนาจชั่วศัตรูร้ายหมายชีพมึง
ธงรบเลือดชักตรึงอยู่ไม่ไกล

ทหารร้ายใจโจรตะโกนร้อง
คำรามก้องในท้องทุ่งได้ยินไหม
มันราญรุกบุกบ้านเพื่อเอาชัย
ลูกเมียเรามันเชือดได้ให้ตายตาม

เตรียมศาสตราอาวุธเร็วพี่น้อง
รวมพลังเป็นหมู่กองให้เกรงขาม
แล้วตบเท้าก้าวสู่แดนสงคราม
ให้เลือดชั่วสาดตามรอยไถนา

ขอความรักในชาติอันยิ่งใหญ่
นำและหนุนพลังใจทหารกล้า
เสรีภาพ เสรีภาพ เจ้าจงมา
รบเคียงคู่อยู่กับข้ารักษาบ้าน

ใต้ธงรบ "ชัยชนะ" จงประกาศ
พลังชายองอาจชาติทหาร
ให้ศัตรูฉิบหายทรมาน
เมื่อชัยชาญเกียรติก้องเป็นของเรา

พวกเราพร้อมใจสู้สู่แดนหน้า
ที่พี่ชายเคยยุทธาเคยอยู่เฝ้า
ที่ฝุ่นผงธุลีคือพี่เรา
สัมผัสเถ้ารอยร่องของความดี

ความภูมิใจที่ได้รอดปลอดภัยอยู่
หรือจะสู้ได้ร่วมโลงเมื่อเป็นผี
ได้แก้แค้น ได้ตายตาม เพื่อนโยธี
คือศักดิ์ศรีทนงไว้ในใจเรา


ดาวน์โหลดเพลงชาติ MP3 ได้ที่ http://hymne-national.ifrance.com/

หัวใจภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสอบ A - NET

อ. ปิยะชาติ ชื่นจิต และคณาจารย์วิชาภาษาฝรั่งเศส
NISIT Academy
กล่าวกันว่าการเรียนภาษาต่างประเทศให้ได้ผลดีนั้น รู้เพียงแต่คำศัพท์อย่างเดียวคงไม่พอ โดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศส เพื่อให้เข้าใจภาษามากขึ้นและใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น น้องๆ จำเป็นต้องศึกษาทั้งคำศัพท์ สำนวนภาษา ไวยากรณ์ รวมทั้งวัฒนธรรมด้วย
น้องๆ รู้ไหมว่าไวยากรณ์เป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนภาษาทุกภาษา ถึงแม้จะมีหลายคนบอกว่า “เรียนภาษาไม่ต้องรู้จักไวยากรณ์หรอก แค่พูดได้ เข้าใจ และสื่อสารกับฝรั่งได้ก็หรูแล้ว” จากคำพูดนี้ ก็มีส่วนถูกต้อง เพราะภาษาพูดไม่ต้องเครียดเรื่องไวยากรณ์ แต่ในภาษาเขียนไวยากรณ์ยังถือว่ามีความสำคัญมาก เช่น การแต่งเรียงความ การเขียนจดหมายสมัครงาน หรือ การเขียนบทความนั้น ถ้าน้องๆ เขียนถูกต้องแล้ว สิ่งนี้จะการันตีว่าคุณเป็นผู้ที่รู้ภาษาต่างประเทศได้ในระดับดี
ไวยากรณ์ในภาษาฝรั่งเศสมีมากมาย พูดไปเป็นปีก็ไม่จบ พี่ขอหยิบยกเรื่องกาลมาเล่าสู่กันฟังพอสังเขปเพื่อสะกิดต่อมเรียนรู้ของน้องๆ ในระดับมัธยม
สาเหตุหนึ่งที่ได้หยิบยกเรื่องนี้มาพูด เพราะ คำกิริยา (les verbes) ในภาษาฝรั่งเศสนั้นต้องผันเยอะมาก ทั้งตามประธาน ตามวิธีใช้ และตามกาลอีกด้วย เพื่อช่วยลดภาระในการเรียนภาษาฝรั่งเศสในห้องเรียน

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่-->http://social.eduzones.com/yimyim/3418

วันศุกร์, พฤษภาคม 16, 2551

แนวโน้มมหาวิทยาลัยและคณะยอดฮิตปี2551

มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดโครงการเพื่อสำรวจ ความคิดเห็นของน้องๆมัธยมปลายที่มีต่อระบบแอดมิชชั่น และความนิยมในแต่ละคณะ โดยสุ่มตัวอย่างจากทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดแบบแยกเพศประมาณ 1000 คน ซึ่งได้ผลดังนี้

เพศชาย
คณะยอดนิยมอันดับ 10 : คณะเภสัชศาสตร์ 2.7 %
คณะยอดนิยมอันดับ 9 : คณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และคณะสื่อสารมวลชน 3 %
คณะยอดนิยมอันดับ 8 : คณะบริหารธุรกิจ 3.1 %
คณะยอดนิยมอันดับ 7 : คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะมนุษย์ศาสตร์ 5 %
คณะยอดนิยมอันดับ 6 : คณะวิทยาศาสตร์ 5.6 %
คณะยอดนิยมอันดับ 5 : คณะรัฐศาสตร์ 7.4 %
คณะยอดนิยมอันดับ 4 : คณะนิติศาสตร์ 7.9 %
คณะยอดนิยมอันดับ 3 : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 8.4 %
คณะยอดนิยมอันดับ 2 : คณะแพทย์ศาสตร์ 15 %
คณะยอดนิยมอันดับ 1 : คณะวิศวกรรมศาสตร์ 16.2 %
อื่นๆ 27.7 %

เพศหญิง
คณะยอดนิยมอันดับ 10 : คณะวิทยาศาสตร์ 1.5 %
คณะยอดนิยมอันดับ 9 : คณะนิติศาสตร์ 2.7 %
คณะยอดนิยมอันดับ 8 : คณะวิศวกรรมศาสตร์ 3.1 %
คณะยอดนิยมอันดับ 7 : คณะแพทย์ศาสตร์ 4.6 %
คณะยอดนิยมอันดับ 6 : คณะครุศาสตร์ 4.8 %
คณะยอดนิยมอันดับ 5 : คณะพยาบาลศาสตร์ 4.6 %
คณะยอดนิยมอันดับ 4 : คณะรัฐศาสตร์ 5.2 %
คณะยอดนิยมอันดับ 3 : คณะบัญชี 7.6 %
คณะยอดนิยมอันดับ 2 : นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และคณะสื่อสารมวลชน 17.3 %
คณะยอดนิยมอันดับ 1 : คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะมนุษย์ศาสตร์ 20.4 %
อื่นๆ 27.8 %

มหาวิทยาลัยยอดนิยม
อันดับ 10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(บางมด)
อันดับ 9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อันดับ 8. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อันดับ 7. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อันดับ 6. มหาวิทยาลัยศิลปากร
อันดับ 5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อันดับ 4. มหาวิทยาลัยมหิดล
อันดับ 3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อันดับ 2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อันดับ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอบด้วยระบบแอดมิชชั่น โอเน็ท 8 วิชา
เห็นด้วย 31 %
ไม่เห็นด้วย 64 %
เฉยๆ อย่างไรก็ได้ 5 %

หากท่านไม่ผ่านการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการ
ท่านจะเข้ามหาวิทยาลัยเอกชน 52 %
เข้ามหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ 31 %
ซิ่ว 10 %
เรียนต่อต่างประเทศ 4 %
อื่นๆ 3 %